|
|
วัดศรีโพธิ์ชัย
ประวัติความเป็นมา
วัดศรีโพธิชัย เริ่มสร้าง พ.ศ. ๒๐๙๐ ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ โดยกลุ่มนานพรานจากเวียงจันทร์มีหัวหน้าชื่อนายภา (เชียงภา) ซึ่งอพยพครอบครัวและญาติพี่น้องมาตั้งถิ่นฐานเป็นปึกแผ่นแล้วสร้างวัดขึ้นตั้งชื่อว่าวัดศรีโพธิ์ชัย ชาวบ้านเรียกว่าวัดบ้านแสงภา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๐ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระบุญทัน รูปที่ ๒ พระท้าว รูปที่ ๓ พระพั่ง รูปที่ ๔ พระแพง รูปที่ ๕ พระถา รูปที่ ๖ พระอาจ รูปที่ ๗ พระตัน สมาหิโต รูปที่ ๘ พระอุษา ศิริคุตฺโต รูปที่ ๙ พระครูโกศลโพธิธรรม รูปที่ ๑๐ เจ้าอธิการบุญเลิศ สุภาจาโร ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นต้นมา การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๒๐ ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอน พ.ศ. ๒๕๓๓
ที่ตั้ง
วัดศรีโพธิ์ไชย ตั้งอยู่เลขที่ ๕๑ บ้านแสงภา หมู่ที่ ๑ ตำบลแสงภา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลยสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑๐ ไร่ ๓ งาน ๓ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๑๐ เส้น ๑๐ วา ๓ ศอก จดหมู่บ้าน ทิศใต้ประมาณ ๑๐ เส้น ๑๐ วา ๓ ศอก จดทุ่งนาและภูเขาทิศตะวันออกประมาณ ๘ เส้น ๑๕ วา ๓ ศอก จดลาห้วย ทิศตะวันตกประมาณ ๘ เส้น ๑๕ วา ๓ ศอก จดภูเขาและหมู่บ้าน มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๒ ไร่ ๑ งาน ๒ ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๑ กุฎิสงฆ์ ๔ หลัง ศาลาอเนกประสงค์ อาคารไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ ศาลาบำเพ็ญกุศ ๑ หลัง หอพระไตรปิฎก ๑ หลัง หอระฆัง ๑ หลัง ปูชนียวัตถุมีพระพุทธปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางห้ามญาติ ๒ องค์ ลวดลายไม้แกะสลักต่างๆ ศิลปะล้านช้าง
|
|
สิมเก่าวัดโพธิชัย เป็นสิมทึบ มีเสารับปีกนก หลังคา๓ชั้น สวยงามเป็นอย่างยิ่ง
|
รูปแบบสิม ,วัสดุและโครงสร้าง
|
รูปแบบ : เป็นสิมก่ออิฐฉาบปูนขนาดใหญ่ ขนาด ๕ ห้อง ยาว ๑๓ เมตร หากรวมระเบียงมุขหน้าหลังจะยาวถึง ๑๘.๕๐ เมตร ความกว้างรวมระเบียงข้าง ๑๓.๕๐ เมตร หลังคากว้างให้ลด ๒ ตับๆ ล่าง มีเสารับเป็นเหมือนปีกนกลดมุขหน้าหลัง ที่พิเศษก็คือมีเรือนยอดตั้งซ้อนเป็นชั้นที่ ๓ ยาว ๓ ห้อง เสาบานหน้าต่างทุกห้อง จุงดูแปลกตากว่าสิมหลังอื่น หลังคาปัจจุบันเปลี่ยนเป็นสังกะสีหมดแล้ว สิมนี้มีประตูเข้า ๓ ประตู คือ ประตูหน้า ประตูข้างด้านทิศเหนือและประตูข้างทิศใต้ (ตรงกับพระประธาน) ฐานแอวขันเตี้ยทำเพียงโบกคว่ำชั้นเดียว หน้าต่างเจาะใส่ลูกกรงไม้กลึง ระเบียงโดยรอบทำเตี้ยตรงกับแนวเสานางเรียงโดยรอบ รวม ๒๒ ต้น เปิดเป็นทางเข้า ๖ ทาง บันไดเพียง ๒ ขั้นเท่านั้น
|
|
ส่วนประกอบ ทั้งมุขหน้าและมุขหลังมีฮังผึ้งประดับทั้ง ๓ ช่วงเสา ทำลายโดยวิธีแต้มสีมิใช่แกะสลัก แต่โหง่ และหางหงส์นั้นแกะสลักสวยงามแปลกตากว่าหลังอื่น กล่าวคือ ตัวโหง่ทำเป็นหัวมาติดปีกมีหงอน งอนเป็นกนกหัวม้วน ๓ ตัว มีหางเป็นนก ดูพิลึกแต่ให้อารมณ์เหมือนกำลังโผบินดีมาก ส่วนหางหงส์ เป็นรูปนาคอ้าปากแยกเขี้ยวมีหงอนสูงยาวเป็นกนกหัวม้วน ๔ ตัว และที่พิเศษอีกชั้นหนึ่ง ก็คือ ช่อฟ้า แกะไม้เป็นทรงปราสาท ๕ ชั้น สี่เหลี่ยมเรียวขึ้นไป ปลายยอดสุดมีหงส์หันหัวไปทางทิศตะวันออก (หน้าสิม) หันหางไปทิศตะวันตก ส่วนสีหน้านั้นเปิดโลงมิได้ประดับอะไรเลย
|
|
รายละเอียดส่วนประดับมีดังนี้
|
|
โหง่ของหลังคาชั้นกลางและชั้นบนสุด
|
ส่วนประกอบ ทั้งมุขหน้าและมุขหลังมีฮังผึ้งประดับทั้ง ๓ ช่วงเสา ทำลายโดยวิธีแต้มสีมิใช่แกะสลัก แต่โหง่ และหางหงส์นั้นแกะสลักสวยงามแปลกตากว่าหลังอื่น กล่าวคือ ตัวโหง่ทำเป็นหัวมาติดปีกมีหงอน งอนเป็นกนกหัวม้วน ๓ ตัว มีหางเป็นนก ดูพิลึกแต่ให้อารมณ์เหมือนกำลังโผบินดีมาก ส่วนหางหงส์ เป็นรูปนาคอ้าปากแยกเขี้ยวมีหงอนสูงยาวเป็นกนกหัวม้วน ๔ ตัว และที่พิเศษอีกชั้นหนึ่ง ก็คือ ช่อฟ้า แกะไม้เป็นทรงปราสาท ๕ ชั้น สี่เหลี่ยมเรียวขึ้นไป ปลายยอดสุดมีหงส์หันหัวไปทางทิศตะวันออก (หน้าสิม) หันหางไปทิศตะวันตก ส่วนสีหน้านั้นเปิดโลงมิได้ประดับอะไรเลย
|
|
|
ฮังผึ้ง แกะสลักไม้ รูปทรงและลวดลายดอกไม้สวยงามและ สีหน้าเป็นฮูปแต้ม รูปเทวดา
|
วัสดุและโครงสร้าง : ฐานก่ออิฐเตี้ยรับผนังสูง ๓.๙๐ เมตร ใช้เสาไม้กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๕ ซม. เสาของสิมแบ่งเป็น ๔ แถว แถวละ ๖ ต้น สองแถวภายในยกพื้น ๒๐ ซม. เป็นอาสนสงฆ์ พระประธาน ปูนปั้นปิดทององค์ใหญ่เต็ม ๑ ช่วงเสา เรือนยอดนั้นยาว ๓ วงเสาอยู่กึ่งกลาง โครงสร้างแบบดั้งตั้งขื่อมีดั้งเอกและดั้งโทและขื่อปีกนก ทรงหลังคาค่อนข้างเตี้ยดูแบนมากกว่าจะสง่าโดดเด่น
คุณค่าของสิมวัดศรีโพธิ์ชัยหลังนี้ อยู่ที่ความใหญ่โต ด้านข้างมองเห็นหลังคาเป็นแท่งมหึมาได้ในระดับตา กอปรทังยืดพื้นที่ ให้เป็นเรือนยอดสูงขึ้นไปอีก ยิ่งทำให้สะดุดตามากขึ้น หากหลังคามุงด้วยแป้นเกล็ดหรือดินขอพื้นเมืองแล้ว จะดูดีและมีค่ากว่าสังกะสีมาก อีกอย่างหนึ่งคุณค่าอยู่ที่การตกแต่งเครื่องบนดังกล่าวแล้ว อาทิ โหง่ ช่อฟ้า หางหงส์ ฮังผึ้ง เป็นต้น นับว่าเป็นสิมทึบที่มีเสารับ ปีกนกอีกหลังหนึ่งของอีสาน ที่ควรอนุรักษ์และบูรณะส่วนชำรุดให้คงสภาพเพื่อการใช้สอยในกาล
ต่อๆ ไป
|
|
|
มอม ตรงราวบันไดทางขึ้นสิมด้านข้าง ชำรุดไปตามกาลเวลาและ ประตูไม้ทางเข้าสิมด้านข้าง
|
|
|
ภายในสิม
|
|
พระประธานประดิษฐานอยู่
|
|